วันอังคารที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2562

อนุทินที่ 3

แบบฝึกหัดทบทวน

เมื่อนักศึกษาได้ศึกษาบทเรียนนี้แล้ว จงตอบคาถามต่อไปนี้ให้ถูกต้อง
1. นักศึกษาอธิบายคำนิยามต่อไปนี้ ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.. 2542
การศึกษา
                ตอบ  การเรียนรู้ของบุคคลและสังคมโดยการถ่ายทอดความรู้ การฝึกการอบรม การสร้างองค์ความรู้อันเกิดจากการ การเรียนรู้ และปัจจัยเกื้อหนุนให้บุคคลเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต

การศึกษาขั้นพื้นฐาน
                ตอบ การศึกษาก่อนระดับอุดมศึกษา การศึกษาต้องเป็นไปตามลำดับขั้นตอนของการศึกษาไม่สามารถข้ามขั้นได้

 การศึกษาตลอดชีวิต
                ตอบ  การศึกษาที่สามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต โดยเกิดจากการผสมผสานระหว่างการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบการศึกษาตามอัธยาศัย

มาตรฐานการศึกษา
                ตอบ  ข้อกำหนดเกี่ยวกับคุณลักษณะคุณภาพที่พึงประสงค์และมาตรฐานที่ต้องการให้เกิดขึ้นในสถานศึกษา และเพื่อใช้เป็นหลักในการเปรียบเทียบสำหรับส่งเสริมและกำกับดูแล การตรวจสอบ การประเมิน และการประกันคุณภาพทางการศึกษา

การประกันคุณภาพภายใน
                ตอบ  การประเมินผลและการติดตามตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาจากภายใน โดยบุคลากรของสถานศึกษานั้นเอง หรือหน่วยงานต้นสังกัดที่มีหน้าที่กากับดูแลสถานศึกษานั้น

การประกันคุณภาพภายนอก
                ตอบ  การประเมินผลและการติดตามตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาจากภายนอก โดยสานักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษาหรือบุคคลหรือหน่วยงานภายนอกที่สานักงานดังกล่าวรองรับ เพื่อเป็นการประกันคุณภาพ และให้มีการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานของสถานศึกษา

ผู้สอน
                ตอบ  ครูและคณาจารย์ในสถานศึกษาระดับต่าง ๆ

ครู
                ตอบ  บุคลากรวิชาชีพซึ่งทาหน้าที่หลักทางด้านการเรียนการสอนและการส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนด้วยวิธีการต่าง ๆ ในสถานศึกษาทั้งของรัฐและเอกชน



คณาจารย์
                ตอบ  บุคลากรซึ่งทาหน้าที่หลักทางด้านการสอนและการวิจัยในสถานศึกษาระดับอุดมศึกษาและระดับปริญญาของรัฐและเอกชน

ผู้บริหารสถานศึกษา
                ตอบ  บุคลากรวิชาชีพที่รับผิดชอบการบริหารสถานศึกษาแต่ละแห่งทั้งของรัฐและเอกชน

ผู้บริหารการศึกษา
                ตอบ  บุคลากรวิชาชีพที่รับผิดชอบการบริหารการศึกษานอกสถานศึกษาตั้งแต่ระดับเขตพื้นที่การศึกษาขึ้นไป

บุคลากรทางการศึกษา
                ตอบ  ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษา รวมทั้งผู้สนับสนุนการศึกษาซึ่งเป็นผู้ทาหน้าที่ให้บริการ หรือปฏิบัติงานเกี่ยวเนื่องกับการจัดกระบวนการเรียนการสอน การนิเทศและการบริหารการศึกษาในหน่วยงานการศึกษาต่าง ๆ  




2. ความมุ่งหมายและหลักการจัดการศึกษาได้กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติการศึกษานี้อย่างไรบ้างให้อธิบาย
                ตอบ  การจัดการศึกษาต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้ และคุณธรรม มีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดารงชีวิตสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข

 3. หลักการจัดการศึกษาประกอบด้วยอะไรบ้าง จงอธิบาย
                ตอบ   (1) เป็นการศึกษาตลอดชีวิตสาหรับประชาชน
                           (2) ให้สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา
                           (3) การพัฒนาสาระและกระบวนการเรียนรู้ให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง

4. การจัดระบบ โครงสร้าง และกระบวนการจัดการศึกษา ตามที่กฎหมายกาหนดมีอะไรบ้าง
                ตอบ  (1) มีเอกภาพด้านนโยบาย และมีความหลากหลายในการปฏิบัติ
                        (2) มีการกระจายอานาจ ไปสู่เขตพื้นที่การศึกษา สถานศึกษาและองค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิ่น
                        (3) มีการกาหนดมาตรฐานการศึกษา และจัดระบบประกันคุณภาพการศึกษาทุกระดับและประเภทการศึกษา
                        (4) มีหลักการส่งเสริมมาตรฐานวิชาชีพครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา และการพัฒนาครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษาอย่างต่อเนื่อง
                        (5) ระดมทรัพยากร จากแหล่งต่าง ๆ มาใช้ในการจัดการศึกษา

                        (6) การมีส่วนร่วม ของบุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เอกชน องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ และสถาบันสังคมอื่น

5. สิทธิและหน้าที่ทางการศึกษา ที่กาหนดไว้ในกฎหมายมีอะไรบ้าง
ตอบ  มีสาระสาคัญของหมวดนี้ มีดังนี้ (มาตรา 10-14) (คาหมาน คนไค, 2543, 31)
1. การจัดการศึกษา ต้องจัดให้บุคคลมีสิทธิและโอกาสเสมอกันในการรับการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่า 12 ปี อย่างทั่วถึง (Education for all) มีคุณภาพ (Educational Quaality) และไม่เก็บค่าใช้จ่าย (Free Education) (สานักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ, 2542, 17)
2. บุคคลที่มีความบกพร่องทางร่างกาย จิตใจ สติปัญญา อารมณ์สังคม ผู้ด้อยโอกาสและผู้มีความสามารถพิเศษ มีสิทธิได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นพิเศษ
3. พ่อแม่ ผู้ปกครอง บุคคล ครอบครัว องค์กรชุมชน องค์กรเอกชน สถานประกอบการ สถาบันศาสนาและสถาบันอื่น ๆ มีสิทธิจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานให้แก่บุตรหลานของตนหรือบุคคลทั่วไป ผู้จัดการศึกษาขั้นพื้นฐานดังกล่าวมีสิทธิได้รับการสนับสนุนและเงินอุดหนุนจากรัฐ รวมทั้งได้รับการลดหย่อนภาษีหรือยกเว้นภาษี ตามที่กฎหมายกาหนด

6. ระบบการศึกษามีกี่รูปแบบแต่ละรูปแบบมีอะไรบ้าง จงอธิบาย
                ตอบ  มี 3 รูปแบบ การศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ การศึกษา
ตามอัธยาศัย

7. การจัดการศึกษาในระบบมีอะไรบ้าง จงอธิบาย
                ตอบ  สถานศึกษาแต่ละแห่งสามารถจัดการศึกษาได้ 3 รูปแบบหรือรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งซึ่งทั้ง 3 รูปแบบนี้สามารถเทียบโอนกันได้

8. สถานศึกษาที่เป็นนิติบุคคลเป็นอย่างไร
                ตอบ  เพื่อให้การบริหารสถานศึกษาสนองการปฎิรูปด้านระบบรายากรให้ประชาชนพึงพอใจในการบริการของรัฐมากขึ้น ซึ้งเรียกกันโดยทั่งไปว่าธรรมมาภิบาล

9. แนวทางการจัดการศึกษามีหลักยึดอะไรบ้าง
                ตอบ  ในหมวด 4  ว่าด้วยแนวการจัดการศึกษา  จะกล่าวถึงหลักการสำคัญของการจัดกระบวนการเรียนการสอน (มาตรา 22)  ซึ่งรวมถึงจุดมุ่งหมายและสาระเนื้อหาของหลักสูตร (มาตรา 23 และ 27)  กระบวนการจัดการ (มาตรา 24) และการประเมินผล (มาตรา 25)  องค์กรที่จัดทำหลักสูตร (มาตรา 26) และเงื่อนไขของความสำเร็จอื่นๆ  ไม่ได้กล่าวโดยตรงว่า ต้องยึดหลักนักเรียนเป็นศูนย์กลางของการเรียนการสอน เพราะอาจจะสร้างปัญหาเชิงกฎหมายในการบังคับใช้  และการตีความ  นอกจากนั้นในปรัชญาการเรียนการสอนควรหลีกเลี่ยงแนวคิดแบบสุดโด่งที่แยกขั้วระหว่างการเรียนของนักเรียน และการสอนของครูมาตรา 22  จึงกล่าวอย่างเป็นกลางๆ ไว้โดย "ถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด"

10. ท่านเห็นด้วยหรือไม่ที่กำหนดให้ครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา ทั้งรัฐและเอกชนจะต้องมีใบประกอบวิชาชีพ
                ตอบ  เห็นด้วย

11. มีวิธีการระดมทรัพยากรเพื่อพัฒนาการศึกษาในท้องถิ่นของท่านได้อย่างบ้าง
                ตอบ  ต้องวางแผนและเรียกประชุมเพื่อแสดงความคิดเห็น และหาสาเหตุที่จะต้องพัฒนาการศึกษาให้ครบทุกด้าน

12. การพัฒนาสื่อและเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา มีวิธีการพัฒนาได้อย่างไร

                ตอบ ผลิตสื่อที่ดึงดูดให้เด็กมีสนใจ ควรมีสื่อที่หลากหลายเพื่อที่จะทำให้เด็กอยากเรียนรู้และสนใจที่จะเรียนและแสดงความคิดอย่างเต็มที่ สื่อที่หลากหลายยังชวนให้เด็กมีความสนใจเพราะเด็กเป็นวัยที่อยากเรียนรู้สิ่งใหม่ๆอยู่ตลอดเวลา

วันศุกร์ที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2562

อนุทินที่ 2

                                               แบบฝึกหัด

คำสั่ง:  หลังจากนักศึกษาได้ศึกษาบทเรียนนี้แล้ว  จงตอบคำถามต่อไปนี้ให้ถูกต้อง  
1. ท่านคิดว่าทำไมมนุษย์เราต้องมีกฎหมายหากไม่มีจะเป็นอย่างไร ?
    ตอบ เหตุผลที่คนเราต้องมีกฎหมาย ก็เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อย เเละความสงบสุขในสังคมที่เราอยู่ร่วมกันกับผู้อื่ ซึ่งกฎหมายสำหรับดิฉัน เปรียบเหมือนกับกฎกติกาการอยู่ร่วมกันกับผู้อื่นในสังคม ซึ่งเป็นสิ่งที่ทุกคนเห็นพ้องต้องกันเเละร่วมใจกันปฎิบัติไปในเเนวทางเดียวกัน เพื่อการรักษาสิทธิของตนเองเเละเป็นการไม่เบียดเบียนสิทธิของผู้อื่น ซึ่งหากในสังคมเราไร้ซึ่งกฎหมายเเล้ว ดิฉันคิดว่าสังคมของพวกเราน่าจะมีเเต่ความวุ่นวาย ผู้คนอาจจะกระทำสิ่งที่ตนเองพึ่งพอใจโดยขาดการพินิจพิเคราะห์ว่ามันจะส่งผลกระทบต่อผู้อื่นหรือไม่ ซึ่งท้ายที่สุดเเล้ว การมีกฎหมายที่เปรียบเสมือนข้อตกลง หรืกฎระเบียบที่เราพึงยึดปฎิบัติเมื่ออยู่ร่วมกับผู้อื่นนั้น เป็นสิ่งที่ดีที่สุด
2. ท่านคิดว่าสังคมปัจจุบันจะอยู่ได้หรือไม่หากไม่มีกฎหมายและจะเป็นอย่างไร ?
    ตอบ ดิฉันคิดว่าสังคมปัจจุบันจะไม่สามารถดำรงอย่างสงบสุขได้หากไร้ซึ่งกฎหมาย เนื่องจากคนเราทุกคนควรมีกฎเกณฑ์ มีกติกาในการทำสิ่งต่างๆ เพื่อควบคุมให้ทุกๆการทกระทำทุกอย่างอยู่ในความพอดี ไม่เบียดเบียน เเละไม่ส่งผลกระทบต่อผู้อื่น หากสังคมเราไร้ซึ่งกฎหมาย ดิฉันเชื่อว่าสังคมเราน่าจะเจอเเต่ความยุ่งเหยิงวุ่นวาย เช่น หากการจารจรบนถนนนั้น ผู้คนสามารถขับรถเช่นใดก็ได้ ไม่ต้องสนใจไฟจราจร แซงซ้ายแซงขวา ปาดหน้ากันตามใจชอบ ก็จะส่งผลให้เกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน อาจร้ายเเรงไปถึงการสูญเสียชีวิต เป็นต้น
3.  ท่านมีความรู้ความเข้าเกี่ยวกับกฎหมายในประเด็นต่อไปนี้       
     ก.  ความหมาย
          ตอบ กฎหมาย คือ คำสั่งหรือ ข้อบังคับที่เกิดจากรัฎฐาธิปไตย์  จากคณะบุคคลที่มีอำนาจสูงสุดของรัฐ  เป็นข้อบังคับใช้กับคนทุก คนที่อยู่ในรัฐหรือประเทศนั้น ๆ จะต้องปฏิบัติตามและมีสภาพบังคับที่มีการกำหนดบทลงโทษ                    
    ข. ลักษณะหรือองค์ประกอบของกฎหมาย        
    ค. ที่มาของกฎหมาย
        ตอบ กฎหมายมาจาก 5 แหล่งสำคัญ ประกอบด้วย
                1. บทบัญญัติแห่งกฎหมาย  เป็นกฎหมายลักษณ์อักษร  เช่น กฎหมายประมวลรัษฎากร รัฐธรรมนูญ  พระราชบัญญัติ  พระราชกำหนด  พระราชกฤษฎีกา  กฎกระทรวง  เทศบัญญัติ  ซึง กฎหมายดังกล่าว   ผู้มีอำนาจแห่งรัฐหรือผู้ปกครองประเทศเป็นผู้ออกกฎหมาย  
                2. จารีตประเพณี  เป็นแบบอย่างที่ประชาชนนิยมปฏิบัติตามกันมานาน  หากนำไปบัญญัติเป็นกฎหมายลายลักษณ์อักษรแล้วย่อมมีสภาพไปเป็นกฎหมาย  เช่น  การชกมวยเป็นกีฬา  หากชกตามกติกา  หากคู่ชกบาดเจ็บสาหัสหรือถึงแก่ชีวิต  ย่อมไม่ผิดฐานทำร้ายร่างกายหรือฐานฆ่าคนตาย อีกกรณีหนึ่งแพทย์รักษาคนไข้ ผ่าตัดขาแขน โดยความยินยอมของคนไข้ ย่อมถือว่าไม่มีความผิด เพราะเป็นจารีตประเพณีที่ปฏิบัติต่อกันมา  ปฏิบัติโดยชอบตามกติกาหรือเกณฑ์หรือจรรยาบรรณที่ กำหนดจึงไม่ถือว่าเป็นความผิดทางกฎหมาย
3. ศาสนา เป็นข้อห้ามและข้อปฏิบัติที่ดีของทุก ๆ ศาสนาสอนให้เป็นคนดี เช่น ห้ามลักทรัพย์ห้ามผิดลูกเมีย ห้ามทำร้ายผู้อื่น กฎหมายจึงได้บัญญัติตามหลักศาสนาและมีการลงโทษ
 4. คำพิพากษาของศาลหรือหลักบรรทัดฐานของคำพิพากษา ซึ่งคำพิพากษาของศาลชั้นสูง เป็นแนวทางที่ศาลชั้นต้นต้องนำไปถือปฏิบัติในการตัดสินคดีหลัง ๆ ซึ่งแนวทางเป็นเหตุผลแห่ง ความคิดของตนว่าทำไมจึงตัดสินคดีเช่นนี้ อาจนำไปสู่การแก้ไขกฎหมายในแนวความคิดนี้ได้ จะต้องตรงตามหลักความจริงมากที่สุด
5. ความเห็นของนักนิติศาสตร์ เป็นการแสดงความคิดเห็นของว่าสมควรที่จะออกกฎหมาย อย่างนั้น สมควรหรือไม่ จึงทำให้นักนิติศาสตร์  อาจจะเป็นอาจารย์ผู้มีชื่อเสียงในกฎหมายได้แสดง ความคิดเห็นว่ากฎหมายฉบับนั้นได้ ในประเด็นที่น่าสนใจเพื่อที่จะแก้ไขกฎหมายให้เกิดประโยชน์ สูงสุดกับประชาชนดังกล่าว  เช่น กฎหมายลักษณะอาญาประกาศใช้ใหม่ ๆ บัญญัติว่า การถืออาวุธ ในถนนหลวงไม่มีความผิดถ้าไม่มีกระสุนต่อมาพระบิดากฎหมายได้ทรงเขียนอธิบายเหตุผลว่า การถืออาวุธในถนนหลวงควรมีข้อห้ามหรือเป็นความผิดจึงได้แก้ไขกฎหมาย ดังกล่าว          
     ง. ประเภทของกฎหมาย
         ตอบ การแบ่งประเภทกฎหมายที่ใช้ในประเทศไทย ขึ้นอยู่ใช้หลักใดจะขอกล่าวโดยทั่ว ๆไป ดังนี้ 
                 ก. กฎหมายภายใน  มีดังนี้
                    1.  กฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษรและไม่เป็นลายลักษณ์อักษร                  
                         1.1  กฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษร แบ่งโดยยึดเนื้อหาของกฎหมายที่ปรากฏเป็นหลัก  โดยผ่านกระบวนการบัญญัติกฎหมาย เช่น รัฐธรรมนูญ  พระราชบัญญัติ  ประมวลกฎหมายต่าง ๆ    พระราชกำหนด พระราชกฤษฎีกาที่ได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภา หรือออกโดยองค์การ บริหารส่วนท้องถิ่น  อาศัยอำนาจจากพระราชบัญญัติ  เช่น เทศบัญญัติ  
                        1.2  กฎหมายที่เป็นไม่เป็นลายลักษณ์อักษร เป็นกฎหมายที่มิได้มีการบัญญัติโดยผ่าน กระบวนการนิติบัญญัติ  เช่น จารีตประเพณี  หลักกฎหมายทั่วไป    
                    2.  กฎหมายที่มีสภาพบังคับทางอาญา และกฎหมายที่มีสภาพบังคับทางแพ่ง      
                         2.1  กฎหมายที่มีสภาพบังคับทางอาญา ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 18 วรรค แรก  บัญญัติโทษทางอาญา เช่น การประหารชีวิต  จำคุก  กักขัง  ปรับ  หรือริบทรัพย์สินสภาพบังคับทางอาญาจึงเป็นโทษอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง ใช้ลงโทษกับผู้กระทำผิดทางอาญา    
                         2.2  กฎหมายที่มีสภาพบังคับทางแพ่งได้บัญญัติถึงสภาพบังคับลักษณะต่าง ๆ กันไว้ สำหรับลงโทษผู้ที่ฝ่าฝืนหรือไม่กระทำตามที่กฎหมายบัญญัติไว้  เช่น  การกำหนดให้เป็นโมฆะกรรมหรือโมฆียกรรม  การบังคับให้ชำระหนี้  การให้ชดใช้ค่าเสียหาย  หรือการที่กฎหมาย บังคับให้ทำอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อความเป็นธรรม อนึ่งสำหรับสภาพบังคับทั้งทางอาญาและทางแพ่งควบคู่กันไปก็ได้ เช่น กฎหมายที่ดิน พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค และพระราชบัญญัติการล้มละลาย อีกทั้ง ยังมีสภาพบังคับทางปกครองอีก ตามพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง  พ.ศ. 2539
                    3.  กฎหมายสารบัญญัติ และกฎหมายวิธีสบัญญัติ      
                         3.1  กฎหมายสารบัญญัติ  แบ่งโดยคำนึงถึงบทบาทของกฎหมายเป็นหลัก กล่าวถึงการ กระทำที่กฎหมายกำหนดเป็นองค์ประกอบแห่งความผิด  หรือเป็นสิทธิ หน้าที่และความรับผิดชอบ ของบุคคลที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่กฎหมายประสงค์จะควบคุมหรือคุ้มครองประโยชน์ของประชาชน ซึ่งจะก่อให้เกิดผล มีสภาพบังคับที่รัฐหรือผู้มีอำนาจบังคับให้เป็นไปตามกฎหมายเป็นผู้กำหนด การกระทำผิด เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเข้าลักษณะองค์ประกอบความผิดตามบทกฎหมาย กฎหมายที่ กำหนดองค์ประกอบความผิด  และกำหนดความร้ายแรงแห่งโทษจึงเป็นกฎหมายสารบัญญัติ เช่น ตัวบทกฎหมายในประมวลกฎหมายอาญาและในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชเกือบทุกมาตรา เป็นกฎหมายสารบัญญัติ    
                         3.2  กฎหมายวิธีสบัญญัติ  กล่าวถึง วิธีการและขั้นตอนในการใช้กฎหมายบังคับ เช่น ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา  ซึ่งในประมวลกฎหมายนี้ กำหนดตั้งแต่อำนาจหน้าที่ของ เจ้าพนักงานของรัฐในการดา เนินคดีทางอาญา การร้องทุกข์ การกล่าวโทษว่ามีการกระทำผิดอาญา เกิดขึ้น การสอบสวนคดีโดยเจ้าพนักงาน การฟ้องร้องคดีต่อศาล การพิจารณาคดี และการพิจารณา คดีในศาล  การลงโทษแก่ผู้กระทำผิด สำหรับคดีแพ่ง กฎหมายวิธีการพิจารณาความแพ่งจะกำหนด ขั้นตอนต่างๆไว้เป็นวิธีการดำเนินคดีเริ่มตั้งแต่ฟ้องคดีเรื่อยไปจนถึงศาลพิจารณาคดีและบังคับให้ เป็นไปคา พิพากษา      
     ยังมีกฎหมายบางฉบับมีทั้งที่เป็นสารบัญญัติและวิธีสบัญญัติทำให้ยากที่จะแบ่งว่าเป็น ประเภทใด  เช่น พระราชบัญญัติล้มละลาย มีทั้งหลักเกณฑ์องค์ประกอบและวิธีการดำเนินคดี ล้มละลายรวมอยู่ด้วย การที่จะเป็นไปกฎหมายประเภทใดให้ดูว่าสาระนั้นหนักไปทางใดมากกว่ากัน  
                    4. กฎหมายมหาชน และกฎหมายเอกชน    
                        4.1 กฎหมายมหาชน เป็นกฎหมายที่กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับประชาชน รัฐ เป็นผู้มีอำนาจบังคับให้ประชาชนปฏิบัติตามกฎหมาย เพื่อให้เกิดความสงบเรียบร้อยแก่สังคม เป็น เครื่องมือในการควบคุมสังคม คือ กฎหมายมหาชน  ได้แก่ กฎหมายรัฐธรรมนูญ  กำหนดระเบียบ แบบแผนการใช้อำนาจอธิปไตย  กำหนดสิทธิและหน้าที่ของประชาชน  กฎหมายปกครอง กำหนดการแบ่งส่วนราชการเพื่อบริหารประเทศ  และการบริการสาธารณะด้านต่าง ๆ แก่ประชาชน    กฎหมายอาญา  เพื่อคุ้มครองความสงบในสังคม  รัฐต้องลงโทษผู้ฝ่าฝืนและกระทำผิด สำหรับวิธี และขั้นตอนที่จะเอาคนมาลงโทษทางอาญา  บัญญัติไว้ในกฎหมายวิธีการพิจารณาความอาญา และ พระบัญญัติอื่น ๆ  เป็นกฎหมายที่ควบคุมและคุ้มครองสังคมให้เกิดความสงบสุขและเป็นธรรม                              
                       4.2  กฎหมายเอกชน  เป็นกฎหมายที่มีความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนด้วยกัน  เช่น กฎหมายแพ่งและพาณิชย์  และพระราชบัญญัติบางฉบับ เช่น พระราชบัญญัติบริษัทมหาชน จำกัด เปิดโอกาสให้ประชาชนสร้างความสัมพันธ์เชิงกฎหมายระหว่างกันในรูปของการท านิติกรรม สัญญา มีผลต่อคู่กรณีให้มีกฎหมายคุ้มครองทั้ง 2 ฝ่ายมีผลผูกพันโดยการทา สัญญา  ปฏิบัติตาม กฎหมายครบทุกประการ  ถ้าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไปปฏิบัติตามหน้าที่ย่อมถูกฟ้องบังคับให้ปฏิบัติตามได้    
                 ข. กฎหมายภายนอก มีดังนี้
                     1.  กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง เป็นกฎหมายที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างรัฐ ต่อรัฐในการที่จะต้องปฏิบัติต่อกันและกัน  ในฐานะที่รัฐเป็นนิติบุคคลในกฎหมายระหว่างประเทศ ซึ่งมีเกณฑ์กำหนดกล่าวคือ
                         1) ประชาชนรวมกันอยู่เป็นกลุ่มก้อน ปึกแผ่น เรียกว่า พลเมือง
                         2)  ต้องมีดินแดนหรืออาณาเขตที่แน่นอน
                         3) มีการปกครองเป็นระเบียบแบบแผน
                         4) เป็นเอกราช
                         5) มี อธิปไตย  เช่น กฎบัตรสหประชาชาติ  สนธิสัญญา  ข้อตกลงการค้าโลก  กฎหมายที่เป็นจารีต ประเพณีที่ยึดถือปฏิบัติกันมานาน รัฐทุกรัฐต่างเห็นชอบ เช่น หลักการแต่งตั้งเอกอัครราชทูต       เอกสิทธิในทางการทูต    
                     2.  กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล  เป็นข้อบังคับที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่าง บุคคลในรัฐต่างรัฐ  เช่น พระราชบัญญัติว่าด้วยการขัดแย้งแห่งกฎหมาย เป็นการบังคับ ความสัมพันธ์ของบุคคลที่อยู่ในประเทศไทยกับบุคคลที่อยู่ในรัฐอื่น ๆ  
                     3.  กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีอาญา  เป็นข้อบังคับที่ประเทศหนึ่งหรือรัฐหนึ่งตกลง ยอมรับให้ศาลส่วนอาญาของอีกรัฐหนึ่งมีอำนาจในการพิจาณาลงโทษอาญาแก่บุคคลที่ได้กระทำผิดนอกประเทศนั้นได้  เช่น  สนธิสัญญาส่งผู้ร้ายข้ามแดน
4. ท่านมีความคิดเห็นอย่างไร ว่าทำไมทุกประเทศจำเป็นต้องมีกฎหมาย จงอธิบาย
    ตอบ ทุกประเทศควรมีกฎหมาย เพราะกฎหมายถือเป็นข้อบังคับที่ใช้ควบคุมความประพฤติของมนุษย์ในสังคม กฎหมายนั้นเกิดขึ้นจากสังคมและเพื่อสังคมไม่อาจมีสังคมไหนจะดำรงอยู่ได้โดยไม่รู้สึกต้องการกฎเกณฑ์สำหรับจัดระเบียบพฤติการณ์ในสังคม มนุษย์เราจำต้องมีกฎเกณฑ์เพื่อการใช้ชีวิตในประเทศให้มีความสงบสุข การอยู่ร่วมกันของมนุษย์อาจก่อให้เกิดความขัดแย้ง การทำร้ายร่างกาย ซึ่งสาเหตุอาจจะมาจากความไม่พึงพอใจ มีการแก่งแย่ง หรือการแก้แค้นซึ่งกันและกัน ถ้ามีการใช้กำลังกันมากเกินไปในเข้าสังคม มนุษย์อาจจะไม่สามารถดำรงอยู่ได้ ความมีเหตุผลเป็นพื้นฐานที่สังคมมนุษย์พัฒนาการจากสังคมเล็กที่สุด คือครอบครัวไปสู่สังคมที่ใหญ่ที่สุดคือ รัฐจึงทำให้มนุษย์สร้างกฎเกณฑ์ ระเบียบแบบแผนขึ้น ระบบระเบียบแบบแผนที่มนุษย์สร้างขึ้นใช้เป็นเกณฑ์สร้างความสัมพันธ์เหล่านี้ เป็นแนวทางหรือกฎเกณฑ์ต่างๆ ที่เป็นแบบแผนเพื่อควบคุมควบความประพฤติสมาชิกในสังคมรวมทั้งเพื่อรักษาความเป็นระเบียบเรียบร้อยในสังคม ซึ่งบางเรื่องมีลักษณะไม่คงที่ยาวนาน และบรรทัดฐานที่สำคัญทางสังคมคือ กฎหมายนั่นเอง
5. สภาพบังคับในทางกฎหมายท่านมีความเข้าใจอย่างไร จงอธิบาย
    ตอบ กฎหมายเป็นกฎเกณฑ์ที่กำหนดความประพฤติของมนุษย์ เพื่อให้มนุษย์จำต้องปฏิบัติตามกฎเกณฑ์  จึงจำเป็นต้องมีสภาพบังคับในกรณีที่มีการฝ่าฝืนกฎเกณฑ์กฎหมายใดไม่มีสภาพบังคับ ไม่เรียกว่าเป็นกฎหมายสภาพบังคับของกฎหมายคือโทษต่างๆในกฎหมาย ถ้าเป็นสภาพบังคับอาญา ได้แก่ประหารชีวิต จำคุก กักขัง ปรับ ริบทรัพย์สิน 
6. สภาพบังคับกฎหมายในอาญาและทางแพ่ง  มีความเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร
    ตอบ สภาพบังคับกฎหมายในอาญาและทางแพ่งแตกต่างกันด้วยสภาพบังคับ ในกฎหมายแพ่งนั้น มีสภาพบังคับประเภทหนึ่ง คือ ถ้าหากมีการล่วงละเมิดกฎหมายแพ่ง บุคคลผู้ร่วงละเมิดไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาล ก็อาจะถูกยึดทรัพย์ขายทอดตลาดเอาเงินที่ขายได้มาชำระหนี้ตามคำพิพากษาของศาล มิฉะนั้นอาจถูกกักขังจนกว่าจะทำตามคำพิพากษาของศาลได้ ส่วนในกฎหมายอาญานั้นมีสภาพบังคับประเภทหนึ่ง คือ โทษทางอาญาซึ่งกฎหมายได้บัญญัติไว้สำหรับความผิด 
7. ระบบกฎหมายเป็นอย่างไร จงอธิบาย
    ตอบ ระบบกฎหมายมี  2  ระบบ
            1) ระบบซีวิลลอร์ หรือระบบลายลักษณ์อักษร ถือกำเนิดขึ้นในทวีปยุโรปราวคริสต์ศตวรรษที่ 12 เป็นระบบเอามาจาก “Jus Civile” ใช้แยกความหมาย “Jus Gentium” ของโรมัน ซึ่งมีลักษณะพิเศษกล่าวคือ เป็นกฎหมายลายลักษณ์อักษรที่มีความสำคัญกว่าอย่างอื่น คาพิพากษาของศาลไม่ใช่ที่มาของกฎหมาย แต่เป็นบรรทัดฐานแบบอย่างของการตีความกฎหมายเท่านั้น เริ่มต้นจากตัวบทกฎหมายเป็นสำคัญ จะถือเอาคาพิพากษาศาลหรือความคิดเห็นของ นักกฎหมายเป็นหลักไม่ได้ ยังถือว่า กฎหมายเอกชนและกฎหมายมหาชนเป็นคนละส่วนกัน และการวินิจฉัยคดีผู้พิพากษาเป็นผู้ตัดสินชี้ขาด กลุ่มประเทศที่ใช้กฎหมายนี้ 
            2) ระบบคอมมอนลอว์ (Common Law System) เกิดและวิวัฒนาการขึ้นในประเทศอังกฤษมีรากเหง้ามาจากศักดินา ซึ่งจะต้องกล่าวถึงคำว่า “เอคควิตี้ (equity) เป็นกระบวนการเข้าไปเสริมแต่งให้คอมมอนลอว์ เป็นการพัฒนามาจากกฎหมายที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร นาเอาจารีตประเพณีและคาพิพากษา ซึ่งเป็นบรรทัดฐานของศาลสมัยเก่ามาใช้ จนกระทั่งเป็นระบบกฎหมายที่มีความสมบูรณ์ในตัวเอง การวินิจฉัยต้องอาศัยคณะลูกขุนเป็นผู้ตัดสินชี้ขาด ประเทศที่ใช้ระบบกฎหมายนี้
8. ประเภทของกฎหมายมีหลักการแบ่งอย่างไรบ้าง  มีกี่ประเภท แต่ละประเภทประกอบด้วย อะไรบ้าง ยกตัวอย่างอธิบาย
    ตอบ ประเภทของกฎหมาย ที่จะศึกษาแบ่งได้เป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
               1)  ประเภทแบ่งตามระบบหรือที่มาของกฎหมาย

               2)  ประเภทแบ่งตามลักษณะการใช้กฎหมาย

               3)  ประเภทแบ่งตามบทบัญญัติในกฎหมายที่มีความสัมพันธ์กับประชาชน
 9. ท่านเข้าใจถึงคำว่าศักดิ์ของกฎหมายคืออะไร  มีการแบ่งอย่างไร
     ตอบ ศักดิ์ของกฎหมายคือ  เป็นการจัดลำดับแห่งค่าบังคับของกฎหมายหรืออาจกล่าวได้ว่าอาศัยอำนาจขององค์กรที่ใช้อำนาจจากองค์กรที่แตกต่างกัน” จากประเด็นดังกล่าวพอที่จะกล่าวต่อไปได้อีกว่า ในการจัดลำดับมีการจัดอย่างไร ซึ่งจะต้องอาศัยหลักว่า กฎหมายหรือบทบัญญัติใดของกฎหมายที่อยู่ในลำดับที่ต่ำกว่า จะขัดหรือแย้งกับกฎหมายในลาดับที่สูงกว่าไม่ได้และเราจะพิจารณาอย่างไร
                (1) การออกกฎหมายโดยฝ่ายนิติบัญญัติ ควรจะเป็นกฎหมายเฉพาะที่สำคัญ เป็นการกำหนดหลักการและนโยบายเท่านั้น เช่น พระราชบัญญัติที่ออกโดยรัฐสภาซึ่งเป็นตัวแทนของปวงชน

                (2) การให้รัฐสภา เป็นการทุ่นเวลา และทันต่อความต้องการและความจาเป็นของสังคม

                (3) ฝ่ายบริหารหรือองค์กรอื่นจะออกกฎหมายลูกจะต้องอยู่ในกรอบของหลักการและนโยบายในกฎหมายหลักฉบับนั้น

            ศักดิ์ของกฎหมาย มีการแบ่งดังต่อไปนี้ 

            1. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย                           
            2.พระราชบัญญัติและประมวลกฎหมาย

            3.  พระราชกำหนด                                                        
            4. ประกาศพระบรมราชโองการให้ใช้บังคับ

            5. พระราชกฤษฎีกา                                                       
            6. กฎกระทรวง

            7. ข้อบัญญัติจังหวัด                                                      
            8. เทศบัญญัติ

            9. ข้อบังคับองค์การบริหารส่วนตำบล
10. เหตุการณ์  เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2555  มีเหตุการณ์ชุมนุมของประชาชน ณ ลานพระบรม รูปทรงม้า  และประชาชนได้ประกาศว่าจะมีการประชุมอย่างสงบ  แต่ปรากฏว่า รัฐบาลประกาศ เป็นเขตพื้นที่ห้ามชุมนุม และขัดขว้างไม่ให้ประชาชนชุมนุมอย่างสงบ  ลงมือทำร้ายร่างกาย ประชาชน ในฐานะท่านเรียนวิชานี้ท่านจะอธิบายบอกเหตุผลว่า  รัฐบาลกระทำผิดหรือถูก
      ตอบ รัฐบาลอาจจะทำผิด เรื่องการใช้กำลังและการใช้เเก๊สน้ำตาจนทำให้ผู้ชุมนุมหลายรายบาดเจ็บ  แต่อย่างไรก็ตาม ฝั่งประชาชนก็กระทำการขัดกับ พ.ร.บ. ความมั่นคง ที่รัฐบาลประกาศใช้ และห้ามมิให้มีการจัดตั้งการชุมนุม ณ สถานที่นั้นๆเช่นกัน
11. ท่านมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ คำว่า  กฎหมายการศึกษาอย่างไร  จงอธิบาย
      ตอบ กฎหมายการศึกษา กฎหมายรัฐธรรมนูญว่าด้วยการศึกษาคือ จะเป็นกฎหรือคำสั่งหรือข้อบังคับของรัฐที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาที่สถาบันหรือหน่วยงานผู้มีอำนาจได้ตราขึ้นบังคับใช้ และถือว่ากฎหมายทางการศึกษาฉบับแรกคือ พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ     เพื่อให้ครูและบุคลากรและผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายจำเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจกฎหมายการศึกษาให้มากขึ้น กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา จะสามารถนำไปใช้ในการปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องเกิดประโยชน์สูงสุดต่อการศึกษาของชาติอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลต่อไป 
12. ในฐานะที่นักศึกษาจะต้องเรียนวิชานี้ ถ้าเราไม่ศึกษากฎหมายการศึกษาท่านคิดว่า เมื่อท่านไปประกอบอาชีพครู  จะมีผลกระทบต่อท่านอย่างไรบ้าง
      ตอบ กฎหมายทางการศึกษา เป็นหัวใจสำคัญในการศึกษา ที่จะทำให้คนมาเป็นครูได้นั้นจะต้องมีความรู้เกี่ยวกับ กฎหมาย ว่ามีอะไรบ้าง มีข้อห้าม ข้อควรปฏิบัติอย่างไรทำให้เราได้เข้าใจและนำไปให้ทางการศึกษา การเรียนการสอน ฉะนั้น ถ้าเราไม่รู้กฎหมายทางการศึกษาจะทำให้เกิดผลกระทบหลายด้านไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของ การจัดการศึกษาอย่างไรที่จะต้องเป็นไป  เพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้ และคุณธรรม มีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดารงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข  และจะต้องจัดให้บุคคลมีสิทธิและโอกาสเสมอกันในการรับการศึกษานั้นต้องทำอย่างไร  สิ่งเหล่านี้เป็นพื้นฐานที่คนเป็นครูจะต้องทราบเพื่อจะได้ส่งเสริมกระบวนการจัดการศึกษาให้ผู้เรียน ได้พัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ และเราไม่ศึกษากฎหมายการศึกษาก็จะทำให้เราไม่รู้ว่ากฎหมายต่างๆมีอะไรบ้าง